ประวัติความเป็นมาของคณะจิตวิทยา
พ.ศ. 2530
- ทบวงมหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบและอนุมัติจัดตั้ง “วิทยาลัยเกษมบัณฑิต” เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2530 โดยเปิดสอนเป็นปีแรก มี 2 คณะ ได้แก่ คณะบริหารธุรกิจ และคณะนิติศาสตร์
พ.ศ. 2536
- ทบวงมหาวิทยาลัยอนุมัติให้เปลี่ยนประเภทสถาบันจาก “วิทยาลัยเกษมบัณฑิต” เป็น “มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต” เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2536
พ.ศ. 2551
- มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตมีแผนในการขยายหลักสูตรและสาขาวิชาต่างๆ เพื่อรองรับการพัฒนาบุคลากรตามความต้องการของประเทศ จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาและยกร่างหลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาวิชาจิตวิทยา เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2551
พ.ศ. 2552
- คณะกรรมการศึกษาและยกร่างหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา เป็นที่เรียบร้อย มหาวิทยาลัยจึงแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาการขอเปิดดำเนินการหลักสูตรฯ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2552
- คณะกรรมการพิจารณาการขอเปิดดำเนินการหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา ได้มีมติให้ความเห็นชอบในการเสนอขอเปิดดำเนินการหลักสูตรฯ ต่อมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2552
- คณะกรรมการสภาวิชาการ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา ได้มีมติเห็นชอบให้นำเสนอขออนุมัติเปิดดำเนินการต่อคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2552
- สภามหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตมีมติเห็นชอบและอนุมัติให้เปิดดำเนินการหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา ในการประชุมครั้งที่ 1/2552 เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2552 โดยให้เปิดดำเนินการเรียนการสอน และจัดตั้งคณะจิตวิทยา ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552
- สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับทราบการให้ความเห็นชอบหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา วิชาโทจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ วิชาโทจิตวิทยาบริการชุมชน และวิชาโทจิตวิทยาการเรียนรู้และการสอน เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2552
พ.ศ. 2553
- คณะจิตวิทยาเปิดสำนักงานคณะจิตวิทยาอย่างเป็นทางการ ณ ชั้น 2 อาคาร 3 วิทยาเขตพัฒนาการ โดยดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2548
พ.ศ. 2555
- คณะกรรมการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา พิจารณาให้มีการปรับปรุงหลักสูตรก่อนกำหนดเวลา เพื่อให้สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2552 และอนุมัติหลักสูตรในการประชุม เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม 2556
- สภาวิชาการมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต อนุมัติหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ 5/2555 เมื่อวันพุธที่ 13 มีนาคม 2556
- สภามหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตมีมติเห็นชอบและอนุมัติให้ใช้หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2556 ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ในการประชุมครั้งที่ 2/2556 เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2556
- สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา รับทราบการให้ความเห็นชอบหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2556 เมื่อวันพุธที่ 7 สิงหาคม 2556
พ.ศ.2556 ถึงปัจจุบัน
- คณะจิตวิทยาเปิดการเรียนการสอนหลักสูตรหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2556 (TQF) ซึ่งมีจำนวนหน่วยกิตเพิ่มขึ้นจากเดิม จำนวน 12 หน่วยกิต รวมหน่วยกิตทั้งสิ้น 132 หน่วยกิต และมีวิชาโทในสาขาจิตวิทยา 3 กลุ่มวิชา ได้แก่ กลุ่มวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ กลุ่มวิชาจิตวิทยาบริการชุมชน และกลุ่มวิชาพัฒนาการเด็กปฐมวัย
ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์
ปรัชญา
- เข้าใจตน เข้าใจคน สร้างสรรค์สังคมในอุดมคติ
ปณิธาน
คณะจิตวิทยามหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตมุ่งมั่นที่จะผลิตบัณฑิตสาขาวิชาจิตวิทยาที่มีศักยภาพ ด้านความรู้ความสามารถ มีเจตคติและคุณธรรม จริยธรรม ที่ดีต่อวิชาชีพ มีประสบการณ์ที่มีคุณค่า พร้อมที่จะนำไปพัฒนาทั้งตนเองและผู้อื่น และประยุกต์ความรู้ทางจิตวิทยาที่ก่อให้เกิดคุณประโยชน์ในการทำงานและการดำเนินชีวิตอย่างเป็นสุขและประสบความสำเร็จ รวมทั้งเกิดความสันติในสังคม
วิสัยทัศน์
คณะจิตวิทยาเป็นหลักสูตรที่มีมาตรฐานด้านวิชาการ และการผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะที่เข้าใจตนเองและผู้อื่น พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงสังคมอนาคต สามารถนำศาสตร์ทางจิตวิทยามาประยุกต์ใช้เพื่อดำรงตนในสังคม พหุวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม และมุ่งเน้นการเป็นนักปฏิบัติเชิงรุก (Proactive Practitioner)
พันธกิจ
คณะจิตวิทยามีพันธกิจ 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการผลิตบัณฑิต ด้านการวิจัย ด้านการบริการทางวิชาการแก่สังคม และด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
- ด้านการผลิตบัณฑิต
- มีความรู้ความเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์ และสามารถนำความรู้ไปพัฒนาตนเองและบุคคลอื่นได้
- มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ มีคุณธรรมและจริยธรรมในวิชาชีพ
- มีทักษะในการคิด วิเคราะห์ และแก้ปัญหา รวมทั้งสามารถติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลอย่างมีประสิทธิผล
- มีประสบการณ์เบื้องต้นในการศึกษาค้นคว้าด้านจิตวิทยา และสามารถนำความรู้ทางจิตวิทยาไปใช้ในการดำเนินชีวิตและดำรงตนอยู่ในสังคมได้เป็นอย่างดี
- ด้านการวิจัย
- ด้านการบริการทางวิชาการแก่สังคม
- ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม